...เรื่องกรวยประสบการณ์...

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)

เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์
ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ
ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทใน
กระบวนการเรียนรู้ด้วย ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 10 โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรม
เป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุด
ประสบการณ์ ที่เป็นนามธรรมที่สุด (Abstract Concrete Continuum) เรียกว่า “กรวยประสบการณ์”
 (Cone of Experience)






1. ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่
ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประ
สาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเกิดจากการด้ปฏิบัติ
กิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
2. ประสบการณ์รอง เป็นประสบการณ์ที่มี
ลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมาก
ที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่าง
นั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง
 อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้ อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกิน
ไป ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี 
ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ 
เช่น สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง เป็นต้น
3. ประสบการณ์นาฏการ เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรื
ใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่ 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อในอดีตสถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้ เช่น 
การแสดงละครบทบาทสมมุติ เป็นต้น
4. การสาธิต เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนใน
สภาพความเป็นจริง
6. นิทรรศการ เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ ด้าน มาจัดแสดงผสมผสาน
ร่วมกัน
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ 
แต่โทรทัศน์มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์ เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์
ที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า “การถ่ายทอดสด” ในขณะที่
ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อน
จึงจะนำมาฉายให้ชมได้
8. การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส
ทางตาหรือทางหู เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
9. ทัศนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา
10. วจนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา